ความเข้าใจที่ผิด ความเชื่อที่ผิด การอ้างเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง ตรรกะวิบัติ นั่นคือความหมายของคำว่า fallacy โดยสิ่งนี้เป็นอะไรที่พบเจอได้ทั่วไปในโลกปัจจุบันที่คนเสพข่าวสารและข้อมูลกันไวและมาจากหลายแหล่งมากขึ้นจนหลายครั้งก็ไม่ได้ตรวจสอบที่มาและความถูกต้องให้ดีก่อนที่จะเชื่อเรื่องใดซักเรื่อง แต่นอกจากเรื่องของเหตุผลหรือตรรกะแล้ว fallacy ก็ยังโยงไปถึงเรื่องของความเชื่อและพฤติกรรมในการใช้เงิน การลงทุน และการพนันก็ได้ด้วยเช่นกัน

ในเรื่องของเงินและทรัพย์สิน สมมุติว่าเป็นหลักทรัพย์เช่นหุ้น โดยพื้นฐานแล้วเรามักจะได้ยินเสมอว่าการลงทุนมีความมเสี่ยงและผู้ลงทุนควรหาข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนตัดสินใจใดๆ ปกติแล้วตอนเริ่มลงทุนกันก็มักจะเป็นเช่นนั้น เราศึกษาอะไรมาซักอย่างก่อนจะตัดสินใจซื้อตามข้อมูลที่มี แต่เมื่อราคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เราไม่ได้คิดไว้คนเราจะเริ่มตื่นตระหนกและอาจจะไม่แน่ใจว่าตัวเองทำการบ้านมาดีพอแล้วรึยัง ซึ่งถ้าหากว่าศึกษามาดีพอและถูกต้องก็จะหาที่มาที่ไปได้ว่าทำไมราคาถึงขึ้นหรือลง และจำถือต่อรอราคาปรับกลับมาหรือว่าจะ cut loss ยอมขายขาดทุนเพื่อไม่ให้เสียหายมากไปกว่านี้ ตรงส่วนนี้เองที่จะวัดกันว่าผู้ลงทุนมี fallacy หรือไม่ ถ้าหากว่าเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ดังกล่าวและไม่สามารถหาข้อมูลมารองรับได้ ส่วนมากก็มักจะโทษฟ้าโทษฝน และหันไปหาที่พึ่งทางใจ ถือต่อ และหวังว่าราคาจะตีกลับมาในทางที่ตัวเองหวัง บ่อยครั้งก็จบลงที่ผู้ลงทุนต้องถือหลักทรัพย์นั้นต่อไปอีกนานโดยไม่รู้ว่าจะขายเมื่อไหร่เพราะไม่อยากขาดทุน หรือที่นักลงทุนเรียกกันแบบขำๆว่าติดดอยนั่นเอง

ในแง่ของการพนันก็เช่นกันที่มีสิ่งที่เรียกว่า gambler’s fallacy คือการที่ผู้เล่นหาเหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลมารองรับการตัดสินใจเล่นต่อของตัวเอง หรือการอ้างถึงความน่าจะเป็นและโอกาสชนะที่ไม่ได้พิสูจน์ได้ในทางตัวเลข เช่นการที่คิดว่ากระดานรูเล็ตที่เล่นไป ออกสีแดงมา 5 เกมติดต่อกันแล้ว ยังไงเกมต่อไปโอกาสออกแดงต้องน้อยลงและหันไปแทงสีดำหรือจะเป็นการใช้เค้าไพ่ในการตัดสินใจเล่นบาคาร่าก็เช่นกัน ซึ่งเกมมพวกนี้มักจะมีการสุ่มเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกัน และผลลัพธ์ของเกมก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ส่งผลอะไรกับตัวเกมตาต่อไป